จากสถาปัตยกรรมบ้านอาคารพาณิชย์ที่มีอายุกว่า 30 ปีตั้งอยู่ในเขตชุมชนใจกลางเมืองอย่างสุขุมวิทซอย 101 แหล่งที่ผู้คนอาศัยอยู่รวมกันมากมายจากรุ่นสู่รุ่น ในปัจจุบันถึงเวลาที่รุ่นพ่อแม่จะส่งไม้ต่อความดูแลไปสู่รุ่นลูก Project Townhouse 101 จึงเป็นงานออกแบบรีโนเวทที่ต้องคำนึงถึงความเชื่อมต่อระหว่างรุ่นก่อนและรุ่นปัจจุบันที่อาศัยอยู่ร่วมกันในบ้านหลังเดียวกันนี้ให้เกิดความลงตัวและเหมาะสมกับการใช้งานให้มากที่สุด

ด้วยความเป็นบ้านอาคารพาณิชย์ 2 ชั้นหรือทาวน์เฮ้าส์แบบยุคบุกเบิกเมื่อ 30 กว่าปีที่แล้วจึงทำให้พื้นที่ภายในบ้านถูกวางขนาดการใช้สอยแบบเรียบง่ายและตรงไปตรงมา การวางผังทั้งหมดจึงไม่มีอะไรทับซ้อนกัน แต่นั่นเป็นทฤษฎีในการออกแบบเพื่อให้ได้พื้นที่ใช้สอยมากที่สุดจากการสร้างอาคารที่มีค่าใช้จ่ายไม่มากเพื่อให้เจ้าของโครงการมีกำไรมากที่สุดนั่นเอง
แต่เนื่องด้วยในยุคก่อนปัจจุบันการใช้ชีวิตของคนในครอบครัวยุค 80 ไม่ได้มีความต้องการในการใช้พื้นที่ที่มีความซับซ้อนมากเท่าไหร่กิจวัตรประจำวันของคนในยุคนั้นเป็นเพียงแค่บ้านที่สามารถนั่งดูทีวีพร้อมกันได้และกินข้าวในโต๊ะอาหารเดียวกันได้ก็เพียงพอ
กลับกันในยุคปัจจุบันเมื่อความต้องการของคนยุคนี้เปลี่ยนแปลงไปความทับซ้อนในการใช้พื้นที่ในแต่ละมุมบ้านนั้นมีความหลากหลายมากขึ้นพร้อมทั้งการที่จะต้องอยู่ร่วมกันกับรุ่นพ่อแม่ที่อยู่มาก่อนก็เป็นอีกโจทย์หนึ่งที่ทำให้การออกแบบครั้งนี้มีความท้าทายและต้องตอบรับกับโจทย์ปัญหาของทั้งสองเจนเนอเรชั่นให้ได้มากที่สุด

ซึ่งโจทย์ดังกล่าวสะท้อนมายังงานออกแบบตั้งแต่บริเวณหน้าบ้านหรือรั้วบ้านที่ติดกับถนนภายในซอยโดยโจทย์ก็คือดีไซน์ของรั้วบ้านที่จะต้องมีความเป็นส่วนตัวกับคนที่นั่งอยู่ภายในบ้าน เช่นการมองเห็นจากภายนอกไม่สามารถมองเข้ามาภายในได้อย่างชัดเจนและระดับของความสูงรั้วที่จะต้องคำนึงถึงความปลอดภัยจากการโจรกรรม ทางทีมจึงได้ออกแบบขนาดของรั้วที่มีความสูงจากพื้นสูงถึงระดับของดาดฟ้าชั้น 2 และดีไซน์ของรั้วที่มีความโปร่งจากระดับพื้นขึ้นบนโดยมีแผงกั้นระดับสายตาของคนที่มองจากภายนอกเข้ามาสู่ภายในไม่ให้ชัดเจนมากนัก
ต่อมาในการออกแบบภายในทั้งหมดทั้งทีมพวกแบบได้ตีโจรจากความต้องการของเจ้าของบ้านออกมาให้ได้ความต้องการทั้งในส่วนของคนยุคใหม่และยุคก่อนให้ลงตัวที่สุดโดย concept ของการออกแบบภายในบ้านทั้งหมดจะใช้ภายใต้แนวคิดของการไล่โทนสีไม้ตัดกับสีขาวซึ่งเป็นสีที่เจ้าของบ้านต้องการให้โทนทั้งหมดของภายในมีความสบายตาและไม่หนักจนเกินไปทางทีมผู้ออกแบบจึงเน้นโทนของเฟอร์นิเจอร์ให้มีความขาวสะอาดตัดกับผนังตกแต่งหรือ decorating wall ที่มีโทนสีไม้ตัดกันโดยไม่ให้เกิดความน่าเบื่อจนเกินไป

ในส่วนของพื้นที่ต้อนรับแขกภายในบ้านชั้น 1 การออกแบบโดยรวมจะคำนึงถึงการใช้งานของคนในบ้านเป็นหลักคือนอกจากการต้อนรับแขกแล้วพื้นที่ว่างเปล่าในระดับของระนาบกำแพงทั้งหมดจะต้องเป็นพื้นที่ที่สามารถเก็บของหรือใช้สอยได้เนื่องด้วยจากขนาดพื้นที่ของบ้านที่จำกัดจึงทำให้จะต้องสามารถใช้สอยทุกตารางเมตรภายในบ้านได้อย่างเต็มที่และมีประสิทธิภาพด้วยการออกแบบเฟอร์นิเจอร์ built in ให้เป็นตู้ที่สามารถเก็บของได้ แต่ยังคงดีไซน์โดยรวมให้มีความเป็นโทนอุ่นและองค์ประกอบของงานคิ้วเฟอร์นิเจอร์ทั้งหมดแต่ยังคงการใช้โทนไม้เป็นหลักเพื่อให้มีความอบอุ่นต่อคนภายในบ้านและแขกที่มาเยือน

ต่อเนื่องมาจากพื้นที่รับแขกก็จะเป็นในส่วนของพื้นที่ครัวเบาโดยการเชื่อมต่อของการใช้งานนี้จะเน้นในเรื่องของการมองเห็นระหว่างพื้นที่รับแขกและพื้นที่ครัวเพื่อให้ผู้ใช้หรือสมาชิกในครอบครัวสามารถมองเห็นซึ่งกันและกันได้อย่างต่อเนื่อง โดยผู้ที่ทานข้าวบนเคาน์เตอร์ครัวหรือ island สามารถนั่งรับประทานอาหารพร้อมกับดูทีวีที่อยู่ตรงโซนรับแขกได้ด้วย
ซึ่ง 2 โซนที่กล่าวไปนั้นจะเป็นในส่วนของพื้นที่รับแขกทั้งหมดหรือพื้นที่หน้าบ้านถัดมาในส่วนของด้านหลังของบ้านจะเป็นห้องนอนของคุณแม่ของเจ้าของบ้านซึ่งเป็นกลุ่มของผู้ใช้ที่มีอายุ โดยการการใช้พื้นที่ทั้งหมดนั้นจะใช้ในส่วนของประตูไม้บานเลื่อนแบบบานเฟี้ยมเป็นการกั้นพื้นที่โซนรับแขกกับโซนส่วนตัวออกจากกันซึ่งในห้องของคุณแม่ด้านหลังจะเป็นพื้นที่ outdoor ที่จะมองไปยัง sky light ด้านหลังเพื่อรับแดดธรรมชาติเข้ามายังพื้นที่ด้านหลังของห้องนอน เพราะเนื่องด้วยจากตัวบ้านเดิมจะเป็นอาคารพาณิชย์ทาวน์เฮ้าส์ที่มีความยาวและทึบจึงทำให้เกิดความอึดอัดภายในบ้านได้แต่การออกแบบรีโนเวทในครั้งนี้ได้ตัดบางส่วนของหลังคาด้านหลังบ้านออกไปเพื่อให้สามารถมีแสงธรรมชาติลอดผ่านเข้ามายังภายในได้ทำให้ห้องนอนซึ่งเป็นที่พักผ่อนไม่รู้สึกอึดอัดอีกต่อไป พร้อมตกแต่งกำแพงด้านหลังด้วย vertical garden เพิ่มความสบายตาของผู้ใช้งานเมื่อมองออกไปยังด้านหลังบ้าน


ในส่วนของชั้นที่ 2 ซึ่งเป็นส่วนสำคัญอีกส่วนหนึ่งของบ้านเพราะนี่เป็นชั้นที่จะเป็นพื้นที่ใช้สอยหลักของเจ้าของบ้านรุ่นต่อไปโดยการใช้งานทั้งหมดจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วนหลักก็คือ 1 ส่วนของโซนพักผ่อนหรือห้องนอน 2 ส่วนของการทำงานหรือ co working space

1 โซนพักผ่อน ซึ่งจะเป็นห้องนอนที่อยู่บริเวณส่วนด้านหน้าของอาคารชั้น 2 ซึ่งจะถูกออกแบบและตกแต่งด้วยโทนสีที่มีความแตกต่างและเป็นเฉพาะตัวจากโซนอื่นๆโดยจะใช้โทนของสีเทาดำและขาวเข้ามาผสมผสานกันให้มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่สุดภายในบ้าน การตกแต่งผนังหัวเตียงโดยใช้ไฟซ่อนอยู่ด้านหลังผนังให้มีความโมเดิร์นเหมาะกับลักษณะของเจ้าของบ้านคนปัจจุบัน พร้อมด้วยตู้เสื้อผ้า built in ขนาดใหญ่ด้านข้างแต่คงไว้ซึ่งดีไซน์ให้เรียบหรู

ระเบียงหน้าบ้านหรือดาดฟ้าชั้น 2 ซึ่งเป็นส่วนเชื่อมต่อระหว่างภายนอกและภายในของห้องนอน master bedroom นั้นก็ได้ถูกออกแบบใหม่โดยคำนึงถึงการใช้งานจากกันสาดด้านหน้าให้มีลูกเล่นพร้อมกับฟังก์ชันการใช้งานที่สามารถกันแดดและฝนได้จริงพร้อมทั้งการสอดแทรก vertical garden หรือสวนแนวตั้งบริเวณของกันสาดที่ออกแบบใหม่ให้มีการตัดทอนความแข็งกระด้างของแนวรั้วกันสาดด้วยเช่นกัน

2 โซน co working space หรือโซนทำงานหลักของบ้านซึ่งโจทย์หลักก็คือการออกแบบโซนทำงานที่ตอบสนองความต้องการของเจ้าของบ้านคนปัจจุบันให้ได้มากที่สุดโดยแบ่งออกเป็น 2 คนหรือ 2 อาชีพนั่นก็คือ 1 อาชีพค้าขายออนไลน์ 2 อาชีพฟรีแลนซ์ ซึ่งก็คืออาชีพหลักของทางเจ้าของบ้านทั้งสองคนจึงทำให้การออกแบบและวาง layout เฟอร์นิเจอร์ทั้งหมดของชั้น 2 นั้นจะต้องตอบสนองความต้องการและการทำงานของทั้งสองคนได้อย่างเท่าเทียมกันนั่นก็คือการจัดโซนนั่งทำงานหรือโซนที่ใช้คอมพิวเตอร์และโซนที่เป็น built in สำหรับเก็บของหรือ storage สำหรับเจ้าของบ้านที่ทำอาชีพค้าขายออนไลน์ ซึ่งนั่นก็คือ concept และแนวคิดหลักตั้งแต่เริ่มต้นที่ทางทีมงานได้รับโจทย์มาจากเจ้าของบ้านนั่นก็คือทุกมุมห้องหรือผนังห้องที่ปล่อยว่างจะต้องสามารถเป็นพื้นที่ใช้สอยและเก็บของได้ แต่ในขณะเดียวกันจะต้องไม่เป็นความรกหรือดูแล้วไม่สบายตามของผู้ใช้งาน

ในส่วนของด้านหลังของพื้นที่ชั้น 2 นั้นก็จะเป็นในโซนพักผ่อนอีกโซนนึงของเจ้าของบ้านจะถูกตกแต่งด้วยผนังกั้นขนาดครึ่งตัวเพื่อเป็นตัวบ่งบอกถึงการแบ่งโซนการใช้งานออกจากกันและจะถูกวางไว้ด้วยเฟอร์นิเจอร์โซฟารูปตัว l เพื่อให้เป็นได้ทั้งโซนนั่งพักผ่อนดูทีวีและนอนกลางวันได้ และกำแพงด้านหลังสุดของตัวบ้านจะถูกดัดแปลงให้กลายเป็นหน้าต่างครึ่งบานด้านบนขนาดใหญ่เพื่อให้แสงจับภายนอกสามารถลอดผ่านเข้ามายังพื้นที่ภายในได้
โดยหลักแนวคิดทั้งหมดและการตกแต่งภายในนั้นจะโฟกัสและคำนึงถึงพื้นที่ใช้สอยและความเชื่อมโยงกันของพื้นที่แต่ละพื้นที่ให้มีความต่อเนื่องกันของการมองระดับสายตาหรือการแบ่งโซนต่างๆด้วยกำแพงเบาหรือโทนสี เพื่อให้บ้านทั้งหลังมีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของพื้นที่จากด้านหน้าสู่ด้านหลัง ซึ่งจะทำให้ผู้ชายรู้สึกว่าด้วยขนาดพื้นที่เท่าเดิมแต่การตกแต่งหรือรีโนเวทใหม่นี้ทำให้บ้านทั้งหมดมีความรู้สึกที่ใหญ่ขึ้น พร้อมกับผสมผสานการใช้งานที่หลากหลายของทั้งสองเจนเนอเรชั่นไว้ในพื้นที่เดียวกันได้อย่างลงตัวมากที่สุด
Ai-Deas – Virtual meet Reality
ai.deasgroup@gmail.com
(66) 65 528 6259
Comments